ร่องรอยระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565

1. การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

1.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.1.1  ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้

1.1.2  กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.1.3  กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้

1.1.4 การประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้


1.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.2.1  ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา

1.2.2 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายด้านต่างๆ

1.2.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน กิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน

1.2.4 กำหนดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ

1.2.5  กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมรับผิดชอบ

1.2.6  กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน  และท้องถิ่น

1.2.7 กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการ

1.2.8 เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

1.2.9 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1.2.10 กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปี สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน

1.2.11  เสนอแผน ปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ


1.3  การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ

1.3.1 จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

1.3.2 กำหนดผู้รับผิดชอบ และจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ครอบคลุมเป็นปัจจุบัน

1.3.3 นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอน


1.4  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1.4.1 นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติตามกรอบระยะเวลาและกิจกรรม โครงการที่กำหนด

1.4.2 ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด


1.5  การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

1.5.1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา

1.5.2 ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

1.5.3 รายงานและนำผลการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา

1.5.4 เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด


1.6  การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.6.1 ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3  คน

1.6.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา


1.7  การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

1.7.1 สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.7.2 นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

1.7.3 เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน  หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


1.8  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.8.1 ส่งเสริมแนวคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่มุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.8.2 นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา จากการประเมินตนเองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.8.3 เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

2. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.1 การประเมินคุณภาพ ภายในมีการประเมิน ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐาน โดยคณะกรรมการ ประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษา เพื่อนำผล ประเมินไปใช้ในการวางแผน พัฒนากิจกรรม/ โครงการ ตามบริบทของโรงเรียน

2.2 การติดตามตรวจสอบ คุณภาพ : มีข้อมูลสารสนเทศ ที่แสดงแนวโน้มผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (รายบุคคลรายห้องเรียน รายชั้น รายกลุ่มสาระ) และคุณภาพการบริหาร จัดการของสถานศึกษา (โครงการ/ กิจกรรม)

2.3 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการกำหนด มาตรฐาน/ จัดระบบ ..โครงสร้าง/ วางแผน / ดำเนินงาน ตามแผน/ “สร้างจิตสำนึก” ให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพเป็น “ความรับผิดชอบ” ของทุกคน